Bangphai Hospital

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH)

โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH  (Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เป็นอาการที่มักเกิดในเพศชาย ช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยต่อมลูกหมากจะค่อยๆโตขึ้น ส่งผลให้มีอาการ ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่สุด ซึ่งอาจนำไปสู่โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ โรคในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคไต

ต่อมลูกหมากอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของเพศชาย โดยจะมีท่อลําเลียงปัสสาวะอยู่กลางต่อมลูกหมาก เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นอาจไปเบียดท่อจนทำให้ปัสสาวะไหลออกมาไม่ได้ ทั้งนี้ต่อมลูกหมากสามารถโตขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะไม่ออก

    1. ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน

    2. ปัสสาวะออกช้า ปัสสาวะไหลอ่อน หรือปัสสาวะขาดสะดุดเป็นช่วง ๆ

    3. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือต้องเบ่งปัสสาวะจนกว่าจะออก ปัสสาวะไม่สุด

    4. ปัสสาวะมีอาการปวดแสบปวดร้อน

    5. มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ 

    ควรไปปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาเรื่องการปัสสาวะหรือมีอาการดังกล่าวถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงก็ตาม ทั้งนี้โรคต่อมลูกหมากโตทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตันได้ หากปัสสาวะไม่ออกควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

      1. ซักประวัติเพื่อตรวจสอบอาการ

      2. ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจวัดความแรงของสายปัสสาวะ

      3. เจาะ PSA เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

      4. อัลตราซาวนด์ขนาดต่อมลูกหมากที่เปลี่ยนแปลง

      5. ตรวจคลำต่อมลูกหมากผ่านทางท่อทวารหนัก “ดีอาร์อี” (Digital Rectal Examination) เพื่อดูความผิดปกติ

      การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตอาจทำได้ด้วยการรับประทานยาหรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ขนาดของต่อมลูกหมาก อายุของผู้ป่วย สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค 

      รักษาด้วยยาช่วยคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมาก ได้แก่ ยาต้านระบบประสาทอัลฟ่า (Alpha Blocker) ช่วยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย 5 อัลฟ่ารีดักเทส (DHT) และมีผลกับขนาดต่อมลูกหมาก ซึ่งแพทย์จะรักษาตามอาการเป็นหลัก

      การรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อขูดตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (Transurethral Resection of the Prostate-TURP) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาบางส่วนของต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกมา โดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะจากแพทย์จะใช้วิธีตัดหรือขูดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยเครื่องมือแบบขดลวดสำหรับตัดและจี้ด้วยไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตัดและหยุดเลือดออกไปได้พร้อมกัน

        1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

        2. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

        3. งดยาละลายลิ่มเลือด และอาหารเสริมที่จะส่งผลต่อการผ่าตัด อย่างน้อย 7 วัน

        4. ไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตรงตามวันนัด

        1. ใน 12 ชั่วโมงแรกต้องนอนราบ หนุนหมอนได้ 1 ใบ เนื่องจากได้รับการฉีดยาระงับความรู้สึกเข้าบริเวณสันหลัง (สามารถพลิกตะแคงตัวซ้ายขวาได้)

        2. มีการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะไว้ 1-2 วัน และคาสายสวนปัสสาวะไว้ 2-3 วัน โดยใน 12 ชั่วโมงแรก แพทย์จะปิดพลาสเตอร์ยึดสายสวนปัสสาวะไว้ที่ขาข้างซ้ายให้ลูกโป่งที่ปลายสายสวนกดลงบริเวณบาดแผลที่ทำการผ่าตัด เพื่อช่วยหยุดเลือด อย่าดึงหรือแกะพลาสเตอร์ออกเอง ท่านอาจจะมีความรู้สึกปวดตึง ไม่สุขสบาย หรืออยากถ่ายอุจจาระได้จากแรงกดของลูกโป่ง

        3. ถ้ามีอาการปวดบริเวณหัวเหน่ามาก หรือปวดอยากถ่ายปัสสาวะมาก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทราบ เพื่อให้การช่วยเหลือบรรเทาอาการปวด

        4. ทำการฝึกบริหารกล้ามเนื้อฝีเย็บ เพื่อให้กล้ามเนื้อฝีเย็บและหูรูดแข็งแรง เมื่อถอดสายสวนปัสสาวะจะทำให้ช่วยกลั้นปัสสาวะได้ ซึ่งฝึกทำได้ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด และเริ่มทำได้ทันทีหลังผ่าตัด โดยขมิบหูรูดทวารหนักและท่อปัสสาวะให้แน่นคล้ายการกลั้นอุจจาระ หรือการหยุดถ่ายปัสสาวะ ขมิบค้างไว้ นับ 1 ถึง 10 แล้วจึงคลายออก ทำครั้งละ 10-20 ที สลับกับการขมิบเร็วๆ อีก 10 – 20 ที และทำทุก 1-2 ชั่วโมง

        5. ดื่มน้ำวันละ 3 ลิตร ถ้าไม่มีข้อห้ามของแพทย์ เพื่อให้เศษเนื้อและเลือดที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะล้างออกมา และจะช่วยป้องกันการติดเชื้อด้วย

          1. ในระยะ 4 สัปดาห์แรก ระวังการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การเบ่งถ่าย การยกหรือแบกของหนัก การเดินขึ้นลงบันได การนั่งรถกระแทก ซ้อนรถหรือปั่นจักรยาน ฯลฯ เพราะจะทำให้มีการฉีกขาดและมีเลือดออกจากบริเวณแผลที่ตัดต่อมลูกหมาก

          2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 10-12 แก้วต่อวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใย เช่นผักและผลไม้ เพื่อป้องกันการเบ่งถ่ายอุจจาระ

          3. สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือทำกิจกรรมหนัก

          4. งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพราะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง

          5. รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ถูกต้อง

          6. สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ และดูแลตนเองเบื้องต้น ดังนี้ 

                – ถ้าปัสสาวะมีสีแดง ให้ดื่มน้ำมากๆ นอนพัก ถ้าปัสสาวะสีแดงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้ไปพบแพทย์ใกล้บ้าน เพราะอาจมีเลือดออกเพิ่มขึ้นและทำให้ปัสสาวะไม่ออก

                – ถ้ามีไข้หนาวสั่น ปวดบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะแสบขัด ให้ไปพบแพทย์ใกล้บ้าน เพราะอาจมีการติดเชื้อ

          7. สามารถออกกำลังกายเบาๆ ด้วยการเดิน ในช่วงแรก

          8. มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามอาการหลังผ่าตัด และแจ้งผลการตรวจชิ้นเนื้อให้ทราบ

          แพ็กเกจส่องกล้องทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดต่อมลูกหมากโต คลิก!!!!